หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การติดตั้งโปรแกรมเสริม extension บน joomla

การติดตั้งโปรแกรมเสริม extension บน joomla

ในการติดตั้งตัวเสริมต่างๆของ joomla เช่น component, module, plugin, theme เราสามารถติดตั้งได้โดยง่ายๆ ผ่านตัวติดตั้งตัวเดียวเลยสะดวกสบายมากครับ ให้เราเข้าไปที่หน้า Backend ของ joomla จากนั้นดูที่เมนูด้านบนเลือก Extension > Install/Uninstall
howhost_00411

จะมีให้เลือกการติดตั้ง 3 แบบ คือ 1.ติดตั้งด้วยไฟล์บีบอัดบนเครื่องเรา 2.การติดตั้งจาก directory โดยตรง 3. ติดตั้งจาก URL
howhost_00125
แต่ที่สะดวกที่สุดก็คือวิธีที่ 1 ครับติดตั้งด้วยไฟล์บีบอัดบนเครื่องเรา โดยส่วนใหญ่การติดตั้งโปรแกรมเสริมให้กับ joomla จะทำตามวิธีนี้ เนื่องจากโดยส่วนใหญ่เราจะต้องโหลดโปรแกรมเสริมมาเก็บไว้บนเครื่องของตนเองก่อน และโปรแกรมเสริมส่วนใหญ่ก็จะจัดเก็บไฟล์ด้วย .zip หรือ .tgz โดยให้เรากด Browse… จากนั้นเลือกโปรแกรมเสริมที่เราโหลดมาเพื่อจะติดตั้งลงไปบน joomla แล้วกด upload file and install
howhost_00221
เพียงแค่นี้ก็จบการติดตั้งแล้ว ส่วนโปรแกรมเสริมที่เราติดตั้งลงไปนั้นก็ถูกแยกออกตามหมวดหมู่ของมันเอง component, module, plugin, theme (template) โดยให้เราไปดูที่เมนู Extension แล้วเลือกดูว่าเลยครับว่า โปรแกรมเสริมที่เราติดตั้งไปเมื่อกี้เราติดตั้งอะไรลงไป เช่น ติดตั้ง module ลงไปก็ให้ไปดูที่ Extension > Module Manager เป็นต้น

วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Joomla คืออะไร

Joomla คืออะไร
joomla คืออะไร คำถามนี้มักจะอยู่ในใจของทุกคน ในขณะที่คุณได้ยินคำว่า "joomla" เป็นครั้งแรก เพราะชื่อที่ฟังแล้วแปลกหู เป็นชื่อที่ไม่คุ้นเคย แต่ถ้าหากเป็นคนที่อยู่ในวงการ Internet และ Website แล้วหละก็ ผมเชื่อแน่ว่า joomla คือ ชื่อที่ได้ยินแล้วรู้สึกโปรดปรานเป็นอย่างยิ่ง ก่อนที่เราจะไปทำความรู้จักกับ joomla กันผมขอเกริ่นนำเกี่ยวกับการสร้างเว็บไซต์ให้พอเข้าใจกันก่อน เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการทำความเข้าใจกับ joomla
การสร้างเว็บไซต์จากอดีตจนถึงปัจจุบัน มีวิวัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไปในทุก ๆ วัน เริ่มจากการใช้ภาษาในการเขียนเว็บไม่กี่ภาษา มาเป็นใช้ภาษาหลาย ๆ ภาษาร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นภาษา HTML, DHTML, PHP, ASP ฯลฯ นอกจากนี้หากต้องการให้เว็บไซต์ของเรามีความสวยงามก็จะต้องมีความรู้ทางด้านกราฟฟิกส์อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการตัดต่อ ย่อ ขยาย รูปภาพ สร้างภาพที่เป็น GIF Animation หรือจะให้ดูนุ่มนวลก็จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับการสร้าง Flash ด้วยความหลายกหลายที่จำเป็นจำต้องมีในเว็บไซต์นั้น การที่จะสร้างเว็บส่วนตัว หรือองค์กรให้สวยงามและมีประสิทธิภาพ ด้วยคนเพียงคนเดียวนั้นอาจต้องใช้เวลานานมาก ด้วยเหตุนี้ปัจจุบันจึงมีกลุ่มคนที่รวมตัวกัน และร่วมกันพัฒนา ต้องขอใช้คำว่า "เว็บไซต์กึ่งสำเร็จรูป" ขึ้นมา เพื่อเป็นการลดภาระการทำงานหลาย ๆ ด้าน ให้มีความง่าย และสะดวกมากยิ่งขึ้น โดยให้ความหมายกับสิ่งที่พวกเขาได้พัฒนาขึ้นว่าCMS
joomla เป็น CMS ตัวหนึ่งในหลาย ๆ ตัวที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน สำหรับคุณที่ยังไม่รู้จักว่า CMS คืออะไร ขออธิบายสั้น ๆ เพิ่มเติมดังนี้ครับ CMS นั้นเป็นอักษรย่อของ คำว่า "Content Management System" ซึ่งเมื่อแปลเป็นภาษาไทย หมายถึง ระบบบริหารจัดการเนื้อหาของเว็บไซต์  นั่นหมายความว่า สิ่งที่เราจะต้องดูแลก็คือเนื้อหาของเว็บไซต์ เช่น การเพิ่มบทความ การเพิ่มรูปภาพ หรือการปรับแต่งโยกย้ายโมดูลต่าง ๆ  ไม่จำเป็นจะต้องมานั่งเขียน Code ด้วยภาษา HTML, PHP, SQL เพียงแต่เรียนรู้วิธีการติดตั้ง การปรับแต่ง การใช้งาน CMS เท่านั้น  สำหรับ Code ต่าง ๆ ที่นำมาสร้าง และ ออกแบบเว็บไซต์ จะทำโดยทีมงานของผู้พัฒนา CMS ของแต่ละทีม ซึ่งทำให้ประหยัดเวลาในการสร้าง  และออกแบบเว็บไซต์ ได้อย่างมาก joomla เป็น CMS ที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับต้น ๆ  เพราะมีระบบการจัดการเนื้อหาที่มีรูปแบบสากล การปรับแต่งหน้าตาของเว็บไซต์ทำได้ง่าย เพราะ joomla ถูกออกแบบมาให้รองรับกับเทคโนโลยีการ ออกแบบเว็บไซต์ สมัยใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการรองรับ Flash หรือ GIF Animation นอกจากนี้คุณยังสามารถ          Download template ได้อย่างมากมายมีทั้งแบบที่สามารถนำมาใช้งานได้ฟรี (โดยให้เครดิตผู้สร้างนิดหน่อย เช่น ไม่ลบชื่อทีมพัฒนา template นั้นออกจาก template เป็นต้น) หรือหากต้องการ template ที่มีประสิทธิภาพ และมีความสวยงาม ก็สามารถหาซื้อมาใช้ได้ เพราะมีเว็บไซต์ที่ให้บริการจัดทำ template ของ joomla อยู่มากมาย จุดเด่นของ joomla อีกจุดหนึ่งก็คือมี Extension จำนวนมากให้เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้งาน เช่น component, module, Plugin มีทั้งแบบฟรี และแบบต้องชำระเงิน สำหรับเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของ joomla คือ http://www.joomla.org   เป็นศูนย์รวมข่าวสารการ Update joomla และคุณสามารถ download joomla และ extension ต่าง ๆ ได้จากที่นี่

                joomla มีการ Update อย่างสม่ำเสมอ ทำให้เรามั่นใจได้ว่าการ ออกแบบเว็บไซต์ ด้วย CMS joomla จะมีความปลอดภัย ซึ่งปัจจุบัน (ตุลาคม 2553) เป็นรุ่น 1.5.21 และที่สำคัญที่สุด joomla รองรับภาษาไทย 100% เพราะมีทีมงานที่คอยดูแลเรื่องภาษา ทำให้เราไม่ต้องมากังวลกับการใช้งานภาษาไทยว่าจะผิดเพี้ยนในส่วนใดหรือไม่ และในขณะนี้ Team ผู้พัฒนา joomla กำลังร่วมกันพัฒนา joomla รุ่นใหม่ คือ joomla1.6 ซึ่งในขณะนี้ก็ใกล้จะได้ใช้งานกันในเวลาอันใกล้นี้คือ Joomla 1.6.4 Released สำหรับในเวอร์ชั่น 1.5 ก็ยังคงพัฒนาเพิ่มเติมมาจนถึง 1.5.23 หากท่านใดใช้เวอร์ชั่นเก่าอยู่ก็แนะนำให้ upgrade ให้ทันสมัยอยู่เสมอนะครับ ทั้งนี้เพื่อประสิทธิภาพ และความปลอดภัยของเว็บไซต์ของท่านเอง
สิ่งที่ควรพิจารณาเป็นอันดับต้น ๆ สำหรับการใช้งาน joomla
สำหรับผู้เริ่มต้นใช้งาน joomla แล้วเกิดปัญหานั้นส่วนใหญ่ ไม่ได้มาจากตัวของ joomla แต่มักจะมีปัญหากับ PHP, MySql, เวอร์ชั่นเก่า ทำให้เกิดปัญหาได้ สำหรับการตรวจเช็คนั้นไม่ยากเลย เพราะในตอนที่ดำเนินการติดตั้งนั้น จะมีหน้าเว็บเพจที่ตรวจสอบว่าสามารถติดตั้ง หรือรองรับได้หรือไม่ หากไม่รองรับให้หาตัวใหม่มาลง  เพราะฉะนั้นตอนติดตั้งมักไม่ค่อยเกิดปัญหา แต่จะเกิดปัญหาตอนที่เราติดตั้งตัวเสริมต่าง ๆ (Extension) ซึ่งบางตัวถึงขั้นไม่สามารถใช้งานได้เลย เพราะติดตั้งไปก็จะ error หรือติดตั้งผ่าน แต่พอใช้งานจริงก็จะมีปัญหา สำหรับคุณที่ต้องการติดตั้งบนโฮสติ้ง ก่อนจะใช้บริการก็ควรเช็ครายละเอียดของโฮสติ้งให้ดีว่า PHP, MySql นั้นเวอร์ชั่นใหม่หรือไม่ จะได้เกิดปัญหาน้อยลง
Control Panel หัวใจของการจัดการเว็บไซต์ 

                ในส่วนนี้ขอกล่าวเลยไปถึงการจัดการเรื่องสิทธิ์บนโฮสติ้งด้วย เพราะโฮสแต่ละโฮส ก็ีมีนโยบายความปลอดภัยไม่เท่ากัน บางโฮสมีความเข้มงวดมากก็จะทำให้คุณต้องอ่านรายละเอียดการใช้งาน เพื่อทำความเข้าใจมากขึ้น สรุปว่าปลอดภัยแต่ใช้ยากขึ้น (นิดนึง) หากคุณเลือกใช้โฮสในลักษณะนี้มักเกิดปัญหา และต้องโทรหาเจ้าของโฮสอยู่บ่อย ๆ อย่างแน่นอน นอกจากนี้เครื่องมือที่ช่วยในการบริหารจัดการโฮสติ้งก็แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับ
Operating System ที่โฮสนั้น ๆ เลือกใช้

วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

การเชื่อมต่ออินเทอร์เนตสามารถเชื่อมต่อได้สองลักษณะด้วยกันได้แก่


ส่วนใหญ่การเชื่อมต่อแบบหมุนโมเด็ม (Remote Access) จะเป็นการเชื่อมต่อมาจากทางบ้าน และการเชื่อมต่อแบบ LAN จะเป็นการเชื่อมต่อภายในองค์กร โดยจะขอกล่าวถึงการเชื่อมต่อแบบหมุนโมเด็มก่อน ดังนี้

การเชื่อมต่อโดยหมุนโมเด็ม (Remote Access)

การเชื่อมต่ออินเทอร์แบบนี้สิ่งที่จำเป็นจะต้องมีได้แก่
1.การขออนุญาตและเสียค่าบริการให้ผู้บริการอินเทอร์เน็ต Internet Service Provider (ISP)
หรือที่สถาบันที่ท่านศึกษา หรือหน่วยงานที่ท่านทำงานอยู่
โดยสิ่งที่ได้คือ ชื่อผู้ใช้ (Internet Account ) และรหัสผ่าน (Password)


2.สายโทรศัพท์
3.โมเด็ม อาจจะเป็น Internal Modem หรือ External Modemเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสื่อสารข้อมูล (Communication Program)

ขั้นตอน

1. เข้ามาที่ เริ่ม Start => Setting => Dial-Up Networking ตามลำดับ ดังภาพ



2.จะได้กรอบ Dial-Up Networking ให้ดับเบิลคลิกที่ Make New Connect ดังภาพ



3.ที่กรอบ Make New Connect นี้ ในช่อง Type a name for the computer you are dialing ให้ตั้งชื่อหน่วยงานหรือ ISP ที่ต้องการต่อเชื่อมอินเทอร์เนต แล้วคลิกปุ่ม Next



4.จากนั้นกำหนดหมายโทรศัพท์ที่หน่วยงานกำหนดให้สามารถต่อเชื่อมอินเทอร์เนตได้
ในช่อง Area code กำหนดรหัสทางไกล และช่อง Telephone กำหนดหมายเลขโทรศัพท์
แล้วกดปุ่ม Next




5.มาถึงตอนนี้ก็เป็นอันเสร็จขั้นตอนการกำหนดให้เครื่องคอมพิวเตอร์หมุนโมเด็ม ให้คลิกปุ่ม Finish



6.ท่านก็จะได้ Icon เพื่อการหมุนโมเด็มเพื่อติดต่ออินเทอร์เนต ดังภาพ



7. มาถึงตอนนี้ก็จะเป็นหมุนโมเด็มเพื่อเชื่อมต่ออินเทอร์เนต โดยการดับเบิลคลิกที่ Icon NU University ดังกล่าว
ในช่อง User name ให้ท่านใส่ User name ที่ได้รับจากหน่วยงานหรือ ISP
ในช่อง Password ให้ใส่ Password ที่ได้รับเช่นกัน
เรียบร้อยให้คลิกปุ่ม Connect




8.จากนั้นคอมพิวเตอร์ก็จะทำการหมุนโมเด็มเพื่อเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เนต
หากสามารถเชื่อมต่อได้ ท่านก็สามารถใช้บริการอินเทอร์เนตได้




9. เป็นไปได้ในบางครั้งคู่สายอาจจะไม่ว่าง เนื่องจากมีผู้ใช้อินเทอร์เนตมาก
เราก็จำเป็นต้องหมุนใหม่ โดยการคลิกที่ปุ่ม Connect อีกครั้ง




เท่านี้ก็เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการเชื่อมต่ออินเทอร์เนตโดยหมุนโมเด็ม (Remote Access)
หากท่านไม่สามารถใช้บริการได้ก็ขอให้ติดต่อกับผู้ให้บริการ System Admin ได้โดยตรง
ต่อไปจะได้กล่าวถึงการเชื่อมต่ออินเทอร์เนตในระบบ LAN

การเชื่อมต่อแบบระบบ LAN