หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554

ศึกษา เว็บไซต์ที่เกี่ยวกับ E-commerce

www.ThaiEasyElec.com (บริษัท วีนัส ซัพพลาย จำกัด)

1.ระบุกลุ่มเป้าหมายหลักที่เว็บไซต์ต้องการสื่อสาร และเว็บไซต์ดังกล่าวสร้างจุดเด่นใดเพื่อดึงดูดกลุ่มเป้าหมาย

1) มุ่งมั่น บุราณการองค์ความรู้ ทางด้านเทคโนโลยีให้กับบุคคลากรในประเทศ

2) มุ่งมั่น ค้นหาและจำหน่าย อุปกรณ์ทางด้านเทคโนโลยีล้ำสมัยเพื่อตอบสนองและอำนวยความสะดวกลูกค้าที่จะสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ

3) มุ่งมั่น วิจัยและพัฒนา ผลิตภัณฑ์ทางด้านเทคโนโลยีเพื่อบุกเบิกสินค้าไทย ให้เป็นที่ยอมรับในตลาดโลก

จุดเด่น

                -ระบบใช้งานง่าย และ รูปแบบเว็บไซต์สวยงาม และ น่าเชื่อถือ

-บริการตอบคำถาม ทางเทคนิค 24 ชั่วโมง ทั้งทางโทรศัพท์ และ ทางอีเมล์

-เร็ว และมีเสถียรภาพ เว็บไซต์ทำงานได้เร็ว ประสิทธิภาพสูง รองรับผู้ชมเว็บจำนวนมาก

-ทีมงานมีประสบการณ์สูง เราให้บริการเว็บไซต์จำนวนมาก กว่า 5,000 เว็บไซต์ทั้ง ในประเทศไทย และ ต่างประเทศ

-ปลอดภัย ข้อมูลของท่านจะได้รับการดูแลอย่างดี เราให้ความสำคัญกับระบบรักษาความปลอดภัย และข้อมูลส่วนตัวของท่าน

-มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ระบบเรามีทีม วิศวกรคอมพิวเตอร์ ฝ่ายวิจัยและพัฒนา (R&D) คอยพัฒนาบริการ และ ความสามารถ ต่างๆ อยู่อย่างต่อเนื่อง

-Search Engine Friendly สามารถใส่ค่า Title Tag และ Meta Tag ได้ในแต่ละหน้าเว็บ เพื่อให้เหมาะสม ใน การติดอันดับ ในเว็บเสริชเอนจิ้น เช่น Google


ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

กลยุทธ์การค้าแบบ B-to-C

รูปแบบการค้าแบบ Business-to-Consumer หรือ B-to-C หมายถึง การขายสินค้าไปยังผู้บริโภคทั่วโลกโดยตรง โดยบริษัทหรือองค์กรธุรกิจที่ขายด้วยวิธีนี้ จักตัดตัวกลาง ไม่ว่าเป็นผู้นำเข้า ผู้จัดจำหน่าย พ่อค้าส่ง และพ่อค้าปลีกออกหมด ทั้งนี้เพื่อต้องการทำกำไรได้มากขึ้น ในขณะเดียวกันก็สามารถขายสินค้าได้ถูกลงด้วย เนื่องจากไม่ต้องแบ่งกำไรให้พ่อค้าคนกลาง แต่อย่างไรก็ตาม ในหลักการทางการตลาดแล้ว การยิ่งเข้าใกล้ผู้บริโภคมากเท่า ไหร่ ก็หมายถึงว่า ท่านมีความเสี่ยงที่จะต้องแบกความรับผิดชอบกับผู้บริโภคมากขึ้นเท่านั้นซึ่งก็เป็นไปได้ที่ท่านอาจจะถูกฟ้องร้องได้ จากสาเหตุการใช้สินค้าของท่าน เหตุเพราะเมื่อไม่มีองค์กรธุรกิจอย่างผู้นำเข้า หรือพ่อค้าคนกลางในตลาดเป้าหมายมาคั่นกลางไว้ มันมีโอกาสมากที่ท่านจะประเมินสถานการณ์ผิดพลาดได้ ทั้งนี้ เพราะการได้รับข้อมูลข่าวสารจากตลาดดังกล่าวอาจจะมีข้อผิดพลาดได้ หรือไม่ได้รับเลย เช่น เรื่องความต้องการที่แท้จริงของตลาดนั้น หรือพฤติกรรมการใช้สินค้าของผู้บริโภคในตลาดนั้น เป็นต้น นั่นคือ ท่านจะมีความเสี่ยงตั้งแต่การขายสินค้าไม่ได้ เพราะไม่ทราบถึงมาตรฐานสินค้าที่ควรจะเป็น และแม้กระทั่งไม่ทราบถึงกฎระเบียบด้านความปลอดภัยและสุขภาพต่างๆ จากตลาดนั้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ท่านจะต้องแลกเอากับการที่ท่านได้รับกำไรต่อหน่วยสินค้าที่สูงขึ้น ซึ่งท่านก็ต้องถามตัวท่านเองว่า พร้อมหรือถนัด หรือไม่? โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการให้บริการแบบ เบี้ยหัวแตกที่ท่านต้องเอาใจลูกค้าจากทั่วโลกแต่ละบุคคล ซึ่งอาจจะมีความต้องการในรายละเอียดที่จุกจิก ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ต้องสนองตอบให้ได้ เพราะมันคือ กุญแจของความสำเร็จของการค้าแบบ B-to-C


 .................................................................................................................................................................................................................................

Paypal.com ธุรกิจบริการโอนและชำระเงินระหว่างบุคคลกับบุคคล


 เป็นบริษัทออนไลน์ที่ให้บริการระบบโอนและชำระเงินผ่านอีเมล์ระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค    (C-to-C Payment) หรือระหว่างบุคคลกับบุคคล (P-to-P Payment) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก บริษัทก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม 1998 และเริ่มให้บริการเมื่อเดือนตุลาคม 1999 ในระหว่างปีแรกที่ให้บริการ บริษัทมีลูกค้าเข้ามาลงทะเบียนเป็นสมาชิกกว่า 3 ล้านราย และมีธุรกรรมต่อวันมากกว่า 100,000ธุรกรรม บริการทั่วๆไปที่ลูกค้านิยมใช้บริการผ่าน Paypal ได้แก่ การโอนเงินระหว่างบุคคลกับบุคคล การชำระเงินค่าสินค้าในตลาด ประมูลต่างๆโดยเฉพาะตลาดประมูลระหว่างบุคคลกับบุคคลของ Ebay การทำธุรกรรมที่เป็นลักษณะเดียวกับการสั่งจ่ายเช็คระหว่าง บุคคลกับบุคคล และการชำระเงินค่าสินค้าให้แก่ร้านค้าออนไลน์ เป็นต้น ในสหรัฐฯก่อนที่จะมีการให้บริการระบบโอนและชำระเงินออนไลน์เช่นเดียวกับ Paypal การโอนและชำระเงินระหว่างกลุ่มผู้บริโภค กับผู้บริโภคส่วนใหญ่มักจะใช้วิธีการชำระด้วยเงินสด การส่งเช็ค การโอนเงิน (Transfer) และการใช้บัตรเครดิต เป็นต้น ซึ่งมีความ ไม่สะดวก

ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

กลยุทธ์การค้าแบบ E-X-Commerce

การค้าแบบ B-to-B ที่เกี่ยวข้องกับผู้ส่งออกโดยตรง ก็คือ การขายผ่านเว็บไปยังผู้นำเข้าทั่วโลก ซึ่งช่องทางการขายนี้ถือเป็น Business-to-Business อีกรูปแบบหนึ่ง หรืออาจจะเรียกว่า Exporter-to-Importer หรือ E-to-I เพียงแต่ว่า ยังคงการใช้วิธีการขายส่งออก หรือการขายล็อตใหญ่อยู่เช่นเดิม ซึ่งการค้าแบบนี้สามารถที่จะประยุกต์ใช้ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้ได้ด้วย โดยเราเรียกระบบการค้าแบบนี้ว่า  E-X-Commerce หรือ E-Export-Commerce

ระบบนี้ทำไว้เพื่อรองรับการสั่งซื้อจำนวนมาก โดยใช้ระบบตะกร้าเช่นกัน เสร็จแล้วพอจะชำระเงินก็มีวิธีการชำระเงินตามขั้นตอนของการส่งออกให้เลือกเช่น L/C หรือ T/T เป็นต้น จากนั้นระบบก็จะสร้าง Proforma Invoice ออกมาให้เสร็จสรรพ ซึ่งวิธีนี้เมื่อบวกกับระบบ IDI (Intranet Data Interchange) ที่ใช้กันในวงในเฉพาะกลุ่มของท่านกับลูกค้าขาประจำหรือที่เป็นสมาชิก ก็สามารถที่จะใช้เป็นข้อตกลงทางการค้าได้เลย ไม่ต้องมาส่งแฟกซ์กันให้ยุ่งยากเหมือนเมื่อก่อน

นอกจากนี้แล้ว เราก็ยังสามารถที่จะส่งออกผ่านเว็บในรูปของเครือข่าย หรือค้ากับผู้นำเข้าหลายๆ รายในหลายๆ ประเทศผ่านเว็บได้ หรือเรียกว่า Business-to-Network หรือ B-to-N จะเกิดขึ้นได้ก็โดยความร่วมมือระหว่างผู้ส่งออกที่เป็นเจ้าของเว็บไซต์กับผู้นำเข้า หรือผู้ค้าส่ง หรือค้าปลีกที่จำหน่ายสินค้าเราในประเทศเป้าหมาย ซึ่งความจริงจะเป็นร้านค้าส่ง หรือผู้นำเข้าก็ได้ ทั้งนี้โดยทั้งหมดนี้ร่วมมือกันโดยอาจจะใช้เว็บไซต์ร่วมกันแล้วก็ใช้ไซต์นี้ในการขายปลีกไปยังผู้บริโภคโดยตรง

       เมื่อมีคำสั่งซื้อเข้ามาก็เป็นหน้าที่ของร้านค้าปลีกหรือร้านค้าส่งหรือผู้นำเข้าที่อยู่ในตลาดนั้น(ที่มีผู้ซื้อเข้ามาผ่านระบบเว็บ)ที่ต้องทำหน้าที่ในการจัดส่งสินค้า การใช้เว็บไซต์ร่วมกันนี้นอกจากจะทำให้ขายปลีกได้แล้ว ก็ยังใช้เป็นเครือข่ายที่เรากับคู่ค้าของเราจะใช้ในการสั่งซื้อสินค้ามายังเราได้โดยผ่านช่องทางเว็บนี้ โดยมีช่องทางพิเศษที่มีการรักษาความปลอดภัย ซึ่งวิธีนี้ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ได้อย่างมากและที่สำคัญจริงก็คือ เป็นการปรับตัวให้สามารถที่จะสนองตอบต่อความต้องการของตลาดได้อย่างรวดเร็วด้วย



สมาชิก

นายนที   เลิศเรืองฤทธิ์   2541051542302

น.ส. ลัดดาวัลย์   วงศ์ราช  2541051542303

น.ส. จันจิรา  ปั๋งมี   2541051542326

น.ส. สุพรรษา  ทองดี 2541051542334

น.ส. วรรณรฎา  ห้วยหงทอง 2541051542337



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น