หน้าเว็บ

วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554

กฏหมาย พรบ.หมวด ๑ ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

หมวด ๑ ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สําหรับตน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทําขึ้นเป็นการเฉพาะ ถ้านํามาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สําหรับตน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๘ ผู้ใดกระทําด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้น มิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน สามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๙ ผู้ใดทําให้เสียหาย ทําลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกิน หนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทําด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทํางานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น ถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทํางานตามปกติได้ต้องระวางโทษจําคุก ไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิด หรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของ บุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทําความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐
(๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันที หรือในภายหลัง และไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสิบปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท
(๒) เป็นการกระทําโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบ คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคง ในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทําต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท
ถ้าการกระทําความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี
มาตรา ๑๓ ผู้ใดจําหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคําสั่งที่จัดทําขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนําไปใช้เป็นเครื่องมือ ในการกระทําความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทําความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
(๑) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
(๒) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิด ความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(๓) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง แห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
(๔) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามก และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑) (๒) (๓) หรือ(๔)
มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มี การกระทําความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทําความผิดตาม มาตรา ๑๔
มาตรา ๑๖ ผู้ใดนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูล คอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้โดยประการที่น่าจะทําให้ผู้อื่นนั้น เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
ถ้าการกระทําตามวรรคหนึ่ง เป็นการนําเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทําไม่มีความผิด
ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้
ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย
มาตรา ๑๗ ผู้ใดกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ
(๑) ผู้กระทําความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้น หรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ
(๒) ผู้กระทําความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทย หรือคนไทยเป็นผู้เสียหาย และผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ
จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร

วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554

ศึกษา เว็บไซต์ที่เกี่ยวกับ E-commerce

www.ThaiEasyElec.com (บริษัท วีนัส ซัพพลาย จำกัด)

1.ระบุกลุ่มเป้าหมายหลักที่เว็บไซต์ต้องการสื่อสาร และเว็บไซต์ดังกล่าวสร้างจุดเด่นใดเพื่อดึงดูดกลุ่มเป้าหมาย

1) มุ่งมั่น บุราณการองค์ความรู้ ทางด้านเทคโนโลยีให้กับบุคคลากรในประเทศ

2) มุ่งมั่น ค้นหาและจำหน่าย อุปกรณ์ทางด้านเทคโนโลยีล้ำสมัยเพื่อตอบสนองและอำนวยความสะดวกลูกค้าที่จะสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ

3) มุ่งมั่น วิจัยและพัฒนา ผลิตภัณฑ์ทางด้านเทคโนโลยีเพื่อบุกเบิกสินค้าไทย ให้เป็นที่ยอมรับในตลาดโลก

จุดเด่น

                -ระบบใช้งานง่าย และ รูปแบบเว็บไซต์สวยงาม และ น่าเชื่อถือ

-บริการตอบคำถาม ทางเทคนิค 24 ชั่วโมง ทั้งทางโทรศัพท์ และ ทางอีเมล์

-เร็ว และมีเสถียรภาพ เว็บไซต์ทำงานได้เร็ว ประสิทธิภาพสูง รองรับผู้ชมเว็บจำนวนมาก

-ทีมงานมีประสบการณ์สูง เราให้บริการเว็บไซต์จำนวนมาก กว่า 5,000 เว็บไซต์ทั้ง ในประเทศไทย และ ต่างประเทศ

-ปลอดภัย ข้อมูลของท่านจะได้รับการดูแลอย่างดี เราให้ความสำคัญกับระบบรักษาความปลอดภัย และข้อมูลส่วนตัวของท่าน

-มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ระบบเรามีทีม วิศวกรคอมพิวเตอร์ ฝ่ายวิจัยและพัฒนา (R&D) คอยพัฒนาบริการ และ ความสามารถ ต่างๆ อยู่อย่างต่อเนื่อง

-Search Engine Friendly สามารถใส่ค่า Title Tag และ Meta Tag ได้ในแต่ละหน้าเว็บ เพื่อให้เหมาะสม ใน การติดอันดับ ในเว็บเสริชเอนจิ้น เช่น Google


ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

กลยุทธ์การค้าแบบ B-to-C

รูปแบบการค้าแบบ Business-to-Consumer หรือ B-to-C หมายถึง การขายสินค้าไปยังผู้บริโภคทั่วโลกโดยตรง โดยบริษัทหรือองค์กรธุรกิจที่ขายด้วยวิธีนี้ จักตัดตัวกลาง ไม่ว่าเป็นผู้นำเข้า ผู้จัดจำหน่าย พ่อค้าส่ง และพ่อค้าปลีกออกหมด ทั้งนี้เพื่อต้องการทำกำไรได้มากขึ้น ในขณะเดียวกันก็สามารถขายสินค้าได้ถูกลงด้วย เนื่องจากไม่ต้องแบ่งกำไรให้พ่อค้าคนกลาง แต่อย่างไรก็ตาม ในหลักการทางการตลาดแล้ว การยิ่งเข้าใกล้ผู้บริโภคมากเท่า ไหร่ ก็หมายถึงว่า ท่านมีความเสี่ยงที่จะต้องแบกความรับผิดชอบกับผู้บริโภคมากขึ้นเท่านั้นซึ่งก็เป็นไปได้ที่ท่านอาจจะถูกฟ้องร้องได้ จากสาเหตุการใช้สินค้าของท่าน เหตุเพราะเมื่อไม่มีองค์กรธุรกิจอย่างผู้นำเข้า หรือพ่อค้าคนกลางในตลาดเป้าหมายมาคั่นกลางไว้ มันมีโอกาสมากที่ท่านจะประเมินสถานการณ์ผิดพลาดได้ ทั้งนี้ เพราะการได้รับข้อมูลข่าวสารจากตลาดดังกล่าวอาจจะมีข้อผิดพลาดได้ หรือไม่ได้รับเลย เช่น เรื่องความต้องการที่แท้จริงของตลาดนั้น หรือพฤติกรรมการใช้สินค้าของผู้บริโภคในตลาดนั้น เป็นต้น นั่นคือ ท่านจะมีความเสี่ยงตั้งแต่การขายสินค้าไม่ได้ เพราะไม่ทราบถึงมาตรฐานสินค้าที่ควรจะเป็น และแม้กระทั่งไม่ทราบถึงกฎระเบียบด้านความปลอดภัยและสุขภาพต่างๆ จากตลาดนั้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ท่านจะต้องแลกเอากับการที่ท่านได้รับกำไรต่อหน่วยสินค้าที่สูงขึ้น ซึ่งท่านก็ต้องถามตัวท่านเองว่า พร้อมหรือถนัด หรือไม่? โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการให้บริการแบบ เบี้ยหัวแตกที่ท่านต้องเอาใจลูกค้าจากทั่วโลกแต่ละบุคคล ซึ่งอาจจะมีความต้องการในรายละเอียดที่จุกจิก ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ต้องสนองตอบให้ได้ เพราะมันคือ กุญแจของความสำเร็จของการค้าแบบ B-to-C


 .................................................................................................................................................................................................................................

Paypal.com ธุรกิจบริการโอนและชำระเงินระหว่างบุคคลกับบุคคล


 เป็นบริษัทออนไลน์ที่ให้บริการระบบโอนและชำระเงินผ่านอีเมล์ระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค    (C-to-C Payment) หรือระหว่างบุคคลกับบุคคล (P-to-P Payment) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก บริษัทก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม 1998 และเริ่มให้บริการเมื่อเดือนตุลาคม 1999 ในระหว่างปีแรกที่ให้บริการ บริษัทมีลูกค้าเข้ามาลงทะเบียนเป็นสมาชิกกว่า 3 ล้านราย และมีธุรกรรมต่อวันมากกว่า 100,000ธุรกรรม บริการทั่วๆไปที่ลูกค้านิยมใช้บริการผ่าน Paypal ได้แก่ การโอนเงินระหว่างบุคคลกับบุคคล การชำระเงินค่าสินค้าในตลาด ประมูลต่างๆโดยเฉพาะตลาดประมูลระหว่างบุคคลกับบุคคลของ Ebay การทำธุรกรรมที่เป็นลักษณะเดียวกับการสั่งจ่ายเช็คระหว่าง บุคคลกับบุคคล และการชำระเงินค่าสินค้าให้แก่ร้านค้าออนไลน์ เป็นต้น ในสหรัฐฯก่อนที่จะมีการให้บริการระบบโอนและชำระเงินออนไลน์เช่นเดียวกับ Paypal การโอนและชำระเงินระหว่างกลุ่มผู้บริโภค กับผู้บริโภคส่วนใหญ่มักจะใช้วิธีการชำระด้วยเงินสด การส่งเช็ค การโอนเงิน (Transfer) และการใช้บัตรเครดิต เป็นต้น ซึ่งมีความ ไม่สะดวก

ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

กลยุทธ์การค้าแบบ E-X-Commerce

การค้าแบบ B-to-B ที่เกี่ยวข้องกับผู้ส่งออกโดยตรง ก็คือ การขายผ่านเว็บไปยังผู้นำเข้าทั่วโลก ซึ่งช่องทางการขายนี้ถือเป็น Business-to-Business อีกรูปแบบหนึ่ง หรืออาจจะเรียกว่า Exporter-to-Importer หรือ E-to-I เพียงแต่ว่า ยังคงการใช้วิธีการขายส่งออก หรือการขายล็อตใหญ่อยู่เช่นเดิม ซึ่งการค้าแบบนี้สามารถที่จะประยุกต์ใช้ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้ได้ด้วย โดยเราเรียกระบบการค้าแบบนี้ว่า  E-X-Commerce หรือ E-Export-Commerce

ระบบนี้ทำไว้เพื่อรองรับการสั่งซื้อจำนวนมาก โดยใช้ระบบตะกร้าเช่นกัน เสร็จแล้วพอจะชำระเงินก็มีวิธีการชำระเงินตามขั้นตอนของการส่งออกให้เลือกเช่น L/C หรือ T/T เป็นต้น จากนั้นระบบก็จะสร้าง Proforma Invoice ออกมาให้เสร็จสรรพ ซึ่งวิธีนี้เมื่อบวกกับระบบ IDI (Intranet Data Interchange) ที่ใช้กันในวงในเฉพาะกลุ่มของท่านกับลูกค้าขาประจำหรือที่เป็นสมาชิก ก็สามารถที่จะใช้เป็นข้อตกลงทางการค้าได้เลย ไม่ต้องมาส่งแฟกซ์กันให้ยุ่งยากเหมือนเมื่อก่อน

นอกจากนี้แล้ว เราก็ยังสามารถที่จะส่งออกผ่านเว็บในรูปของเครือข่าย หรือค้ากับผู้นำเข้าหลายๆ รายในหลายๆ ประเทศผ่านเว็บได้ หรือเรียกว่า Business-to-Network หรือ B-to-N จะเกิดขึ้นได้ก็โดยความร่วมมือระหว่างผู้ส่งออกที่เป็นเจ้าของเว็บไซต์กับผู้นำเข้า หรือผู้ค้าส่ง หรือค้าปลีกที่จำหน่ายสินค้าเราในประเทศเป้าหมาย ซึ่งความจริงจะเป็นร้านค้าส่ง หรือผู้นำเข้าก็ได้ ทั้งนี้โดยทั้งหมดนี้ร่วมมือกันโดยอาจจะใช้เว็บไซต์ร่วมกันแล้วก็ใช้ไซต์นี้ในการขายปลีกไปยังผู้บริโภคโดยตรง

       เมื่อมีคำสั่งซื้อเข้ามาก็เป็นหน้าที่ของร้านค้าปลีกหรือร้านค้าส่งหรือผู้นำเข้าที่อยู่ในตลาดนั้น(ที่มีผู้ซื้อเข้ามาผ่านระบบเว็บ)ที่ต้องทำหน้าที่ในการจัดส่งสินค้า การใช้เว็บไซต์ร่วมกันนี้นอกจากจะทำให้ขายปลีกได้แล้ว ก็ยังใช้เป็นเครือข่ายที่เรากับคู่ค้าของเราจะใช้ในการสั่งซื้อสินค้ามายังเราได้โดยผ่านช่องทางเว็บนี้ โดยมีช่องทางพิเศษที่มีการรักษาความปลอดภัย ซึ่งวิธีนี้ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ได้อย่างมากและที่สำคัญจริงก็คือ เป็นการปรับตัวให้สามารถที่จะสนองตอบต่อความต้องการของตลาดได้อย่างรวดเร็วด้วย



สมาชิก

นายนที   เลิศเรืองฤทธิ์   2541051542302

น.ส. ลัดดาวัลย์   วงศ์ราช  2541051542303

น.ส. จันจิรา  ปั๋งมี   2541051542326

น.ส. สุพรรษา  ทองดี 2541051542334

น.ส. วรรณรฎา  ห้วยหงทอง 2541051542337



วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ข้อจำกัดของการค้าแบบออนไลน์หรือ E-Commerce

1.ต้องมีระบบการรักษาความปลอดภัยของระบบที่มีประสิทธิภาพ
2.ไม่สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ไม่ได้ใช้บริการอินเทอร์เนตได้
3.ขาดความเชื่อมั่นในเรื่องการชำระเงินผ่านทางบัตรเครดิต
4.ขาดกฎหมายรองรับในเรื่องการดำเนินการธุรกิจขายสินค้าแบบออนไลน์
5.การดำเนินการทางด้านภาษียังไม่ชัดเจน

วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การค้ารูปแบบ ธุรกิจ กับ รํฐบาล (B2G : Business to Government)

ธนาคารยูโอบี จํากัด (มหาชน) B2B หรือ B2C

1. http://www.uob.co.th/business/e-commerce-b2b-services_th.htm

บริการชำระเงินพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Direct Debit Online)
เป็นบริการรับชำระเงินสำหรับการบริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เหมาะสำหรับธุรกิจแบบ B2B หรือ B2C โดยรองรับการทำธุรกรรมผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ด้วยวิธีการหักบัญชีธนาคารในลักษณะ Real-time processing พร้อมทั้งนำเงินเข้าบัญชีของผู้ขาย และมีระบบรายงานการเพื่อตรวจสอบรายการรับชำระเงิน
  • ลูกค้าของท่านดูข้อมูลการสั่งซื้อสินค้าหรือชำระเงินผ่าน web-site ของท่านซึ่งเชื่อมโยงระบบการจ่ายเงินอัตโนมัติ (payment gateway) กับธนาคารยูโอบี
  • การชำระเงินและการโอนเงินเข้าบัญชีของธุรกิจของท่านทันที (Real-time settlement)
  • สามารถตรวจสอบรายการโอนเงินหรือชำระเงินออนไลน์กับบริการ UOB CyberBanking
  • ระบบรักษาความปลอดภัยตามมาตรฐานสากลอาทิเช่น Firewall, SSL 128 bits, 2-Factor Authentication
  • สามารถปรับระบบเพื่อรองรับตามความต้องการของธุรกิจของท่าน
  • สามารถเรียกข้อมูลเพื่อดำเนินการปรับปรุงยอดในระบบลูกหนี้และสามารถตรวจรายการชำระย้อนหลังได
บริการรับชำระเงินตามใบแจ้งหนี้ (e-Bill Presentment and Payment-eBPP)
  • ธนาคารมีระบบ eBPP เพื่อรองรับข้อมูลของแต่ละบริษัท โดยบริษัทสามารถดำเนินการส่งข้อมูลใบแจ้งหนี้ และรับข้อมูลการรับชำระเงินผ่านระบบของธนาคารทุกวัน
  • ตัวแทนจำหน่ายหรือลูกค้าของท่านสามารถเข้าสู่ระบบโดยใช้ User ID และ Password เพื่อทำรายการชำระเงินตามใบแจ้งหนี้
  • สามารถเห็นรายการใบเรียกเก็บเงิน (Invoices) ของทุกบริษัททั้งหมด ตัวแทนจำหน่ายหรือลูกค้าเลือกบริษัทต่าง ๆที่จะชำระค่าสินค้าหรือบริการได้สะดวก
  • ระบบมีขั้นตอนการอนุมัติใบสำคัญจ่าย (Voucher)และขั้นตอนการชำระเงิน (Payment Transfer) การชำระเงินลักษณะแบบทันทีอัตโนมัติ
  • สามารถเลือกชำระเงินแบบทันที, แบบกำหนดวันชำระเงินล่วงหน้า หรือ แบบอัตโนมัติ โดยเงินจะเข้าบัญชีของบริษัททันที
  • ธนาคารมีระบบรักษาความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล อาทิเช่น Firewall, SSL 128 Bits
  • สามารถเรียกข้อมูลเพื่อดำเนินการปรับปรุงยอดในระบบลูกหนี้และสามารถตรวจรายการชำระเงินย้อนหลัง

ประโยชน์ของการค้าแบบออนไลน์หรือ E-Commerce

1.สามารถเปิดดำเนินการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
2.สามารถดำเนินการค้าขายได้อย่างอิสระทั่วโลก
3.ใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ
4.ไม่ต้องเสียค่าเดินทางในระหว่างการดำเนินการ
5.ง่ายต่อการประชาสัมพันธ์ และยังสามารถประชาสัมพันธ์ในครั้งเดียวแต่ไปได้ทั่วโลก

e commerce


หลักการด้านอีคอมเมิร์ซ
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรืออีคอมเมิร์ซคือ  การค้าขายผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เนต  อินเตอร์เนตจะเปลี่ยนวิถีทางการดำรงชีวิตของทุกคน  อินเตอร์เนต จะเปลี่ยนวิธีการศึกษาหาความรู้ อินเตอร์เนตจะเปลี่ยนวิธีการทำมาค้าขาย อินเตอร์เนตจะเปลี่ยนวิธีการหาความสุขสนุกสนาน  อินเตอร์เนตจะเปลี่ยนทุกสิ่งทุกอย่าง และทุกสิ่งทุกอย่างจะรวมกันเข้ามาหาอินเตอร์เนต
   กล่าวกันว่าในปัจจุบันนี้ถ้าบริษัทห้างร้านใดไม่มีหน้าโฮมเพจในอินเตอร์เนตบริษัทห้างร้านนั้นก็ไม่มีตัวตน นั่นคือไม่มีใครรู้จัก เมื่อไม่มีใครรู้จักก็ไม่มีใครทำมาค้าขายด้วย แล้วถ้าไม่มีใครทำมาค้าขายด้วยก็อยู่ไม่ได้ต้องล้มหายตายจากไป
   ว่ากันว่าอินเตอร์เนตคือแหล่งข้อมูลข่าวสาร และข้อมูลข่าวสารอย่างหนึ่งก็คือ ข้อมูลเกี่ยวกับราคาสินค้า ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้านั้นๆ และข้อมูลเกี่ยวกับผู้ขายผู้ผลิต  ซึ่งในปัจจุบันผู้บริโภคมีทางเลือกในการที่จะซื้อสินค้ากันมากขึ้น เช่นการเข้าไปเลือกซื้อจากในเว็บไซต์ มีการเข้าไปเปรียบเทียบราคาสินค้าก่อนที่จะซื้อ  หากจะกล่าวว่า “ข่าวสาร” คืออำนาจ ในปัจจุบันนี้ผู้บริโภคก็ได้รับการติดอาวุธอย่างใหม่ที่มีอำนาจมากพอที่จะต่อรองกับผู้ผลิต และผู้จำหน่ายสินค้าได้ผลดีที่สุดเท่าที่เคยมีมาและพฤติกรรมของผู้บริโภคทั่วโลกก็เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง
   ในการทำอีคอมเมิร์ซนั้นไม่ใช่เพียงแค่เป็นเว็บเพจหรือช่องทางการจำหน่ายสินค้า แต่อีคอมเมิร์ซยังมีความหมายรวมไปถึงการนำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการทางธุรกิจ เพื่อลดค่าใช้จ่าย ลดเวลาที่ต้องสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ รวมไปถึงการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าของกับผู้บริโภค และผู้ค้าส่ง สำนักวิจัยไอดีซี (IDC) ได้ประมาณรายได้ของการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซแบบธุรกิจต่อธุรกิจ (B-to-B) ว่าเพิ่มขึ้นจาก 80 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 3,200 พันล้านบาทในปี พ.ศ. 2542 เป็น 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 40 ล้านล้านบาทในปี พ.ศ. 2546
คำจำกัดความของอีคอมเมิร์ซ
   คำจำกัดความของอีคอมเมิร์ซนั้นได้มีผู้ให้นิยามไว้ต่างๆ กันอันเนื่องมาจากมองในแง่มุมที่แตกต่างกัน ถ้าถามอาจารย์สามคนว่าอีคอมเมิร์ซคืออะไร ก็คงได้คำตอบสี่คำตอบ คือแต่ละคนให้คำตอบคนละคำตอบ แล้วเมื่อมาประชุมปรึกษาหารือกันก็ตกลงกันเป็นอีกคำตอบหนึ่ง
   ถ้าถามนักอินเตอร์เนตหรือที่เรียกกันว่าอินเตอร์นอต (Internaut แบบเดียวกับ Asternaut) ก็อาจจะได้คำตอบว่า อีคอมเมิร์ซคือระบบการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านเครือข่ายอินเตอร์เนต
ถ้าถามนักสื่อสารก็อาจจะได้คำตอบว่า อีคอมเมิร์ซคือการใช้ระบบสื่อสารในการส่งโฆษณา สินค้าและบริการไปให้ลูกค้า การใช้ระบบสื่อสาร โดยลูกค้าสั่งซื้อสินค้าและการจ่ายเงิน
   ถ้าถามผู้ให้บริการก็อาจจะได้คำตอบว่า อีคอมเมิร์ซคือการให้บริการให้บริษัทห้างร้านต่างๆ ได้โฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้า ให้บริการผู้ซื้อได้ดูโฆษณาเลือกหาสินค้า และให้บริการเจ้าของกิจการได้ลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มความรวดเร็วในการจัดส่งสินค้าและให้บริการหลังการขายแก่ลูกค้า
ถ้าถามนักเทคโนโลยี ก็อาจจะได้คำตอบว่า อีคอมเมิร์ซคือการนำเทคโนโลยีมาใช้ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการค้าขาย

   สรุปอย่างง่ายๆ โดยสังเขปก็อาจจะได้ความว่า อีคอมเมิร์ซ ประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้
     (1) ผู้ประกอบการจัดตั้งร้านค้าหรือทำหน้าโฆษณาที่เรียกว่าโฮมเพจหรือเว็บเพจบนอินเตอร์เนต
     (2) ผู้ซื้อเข้าไปดูรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าในอินเตอร์เนต
     (3) ผู้ซื้อติดต่อสอบถามรายละเอียดจากผู้ขาย เช่น ของดีจริงหรือไม่ ส่งได้รวดเร็วเท่าใด มีส่วนลดหรือไม่ เป็นต้น
     (4) ผู้ซื้อสั่งสินค้าและระบุวิธีจ่ายเงิน เช่น โดยผ่านบัตรเครดิต เป็นต้น
     (5) ธนาคารตรวจสอบว่าผู้ซื้อมีเครดิตดีพอหรือไม่และแจ้งให้ผู้ขายทราบ
     (6) ผู้ขายส่งสินค้าให้ผู้ซื้อ
     (7) ผู้ซื้ออาจจะใช้อินเตอร์เนตในการติดต่อขอบริการหลังการขายจากผู้ขาย้
ประวัติวิวัฒนาการอีคอมเมิร์ซโดยสังเขป
     การค้าอิเล็กทรอนิกส์นั้นเริ่มขึ้นบนโลกครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2513 ซึ่งได้มีการเริ่มใช้ระบบโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเอฟที (EFT = Electronic Fund Transfer) แต่ในขณะนั้นมีเพียงบริษัทขนาดใหญ่และสถาบันการเงินเท่านั้นที่ใช้งานระบบโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ต่อมาอีกไม่นานก็เกิดระบบการส่งเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีดีไอ (EDI = Electronic Data Interchange) ซึ่งสามารถช่วยขยายการส่งข้อมูลจากเดิมที่เป็นข้อมูลทางการเงินอย่างเดียวเป็นการส่งข้อมูลแบบอื่นเพิ่มขึ้น เช่น การส่งข้อมูลระหว่างสถาบันการเงินกับผู้ผลิต หรือผู้ค้าส่งกับผู้ค้าปลีก เป็นต้น
หลังจากนั้นก็มีระบบสื่อสารรวมถึงโปรแกรมอื่นๆ เกิดขึ้นมากมายตั้งแต่ระบบที่ใช้ในการซื้อขายหุ้นจนไปถึงระบบที่ช่วยในการสำรองที่พัก ซึ่งเรียกได้ว่าโลกได้ก้าวเข้าสู่ยุคของการสื่อสาร และเมื่อยุคของอินเตอร์เนตมาถึงเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2533 จำนวนผู้ใช้อินเตอร์เนตก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การค้าอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้เกิดขึ้น เหตุผลที่ทำให้ระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์เติบโตอย่างรวดเร็วคือโปรแกรมสนับสนุนการค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมามากมาย รวมถึงระบบเครือข่ายด้วย พอมาถึงประมาณปี พ.ศ. 2537 – 2542 ก็ถือได้ว่าระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์หรืออีคอมเมิร์ซก็เป็นที่ยอมรับและได้รับความนิยมอย่างมากและรวดเร็ว ซึ่งวัดได้จากการที่มีบริษัทต่างๆ ในอเมริกาได้ให้ความสำคัญและเข้าร่วมในระบบอีคอมเมิร์ซอย่างมากมาย
ประเภทของอีคอมเมิร์ซ
   มีการแบ่งประเภทอีคอมเมิร์ซกันหลายแบบ เช่น แบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 5 ประเภท แบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 3 ประเภท แบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 6 ส่วน และแบ่งอีคอมเมิร์ซตามประเภทสินค้าเป็น 2 ประเภท เป็นต้น
อีคอมเมิร์ซ 5 ประเภท ถ้าจะแบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 5 ประเภทก็ได้ดังต่อไปนี้
     (1) ธุรกิจกับผู้ซื้อปลีกหรือบีทูซี (B-to-C = Business-to-Consumer) คือประเภทที่ผู้ซื้อปลีกใช้อินเตอร์เนตในการซื้อสินค้าจากธุรกิจที่โฆษณาอยู่ในอินเตอร์เนต
     (2) ธุรกิจกับธุรกิจหรือบีทูบี (B-to-B = Business-to-Business) คือ ประเภทที่ธุรกิจกับธุรกิจติดต่อซื้อขายสินค้ากันผ่านอินเตอร์เนต
     (3) ธุรกิจกับรัฐบาลหรือบีทูจี (B-to-G = Business-to-Government) คือประเภทที่ธุรกิจติดต่อกับหน่วยราชการ
     (4) รัฐบาลกับรัฐบาลหรือจีทูจี (G-to-G = Government to Government) คือ ประเภทที่หน่วยงานรัฐบาลหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งติดต่อกับหน่วยงานรัฐบาลอีกหน่วยงานหนึ่ง
     (5) ผู้บริโภคกับผู้บริโภคหรือซีทูซี (C-to-C = Consumer-to-Consumer) คือ ประเภทที่ผู้บริโภคประกาศขายสินค้าแล้วผู้บริโภคอีกรายหนึ่งก็ซื้อไป เช่นที่อีเบย์ดอทคอม(Ebay.com) เป็นต้น ซึ่งผู้บริโภคสามารถจ่ายเงินให้กันทางบัตรเครดิตได้
อีคอมเมิร์ซ 3 ประเภท ถ้าจะแบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 3 ประเภทก็อาจจะแบ่งได้ ดังต่อไปนี้ ้
     (1)อีคอมเมิร์ซระหว่างผู้บริโภคกับธุรกิจ หรือ บีทูซี (B-to-C = Business-to-Consumer) ซึ่งอาจจะมีตัวอย่างดังต่อไปนี้
     - การติดต่อสื่อสารระหว่างผู้บริโภคกับธุรกิจโดยใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ วิดีโอคอนเฟอเรนซ์ กลุ่มสนทนา  กระดานข่าว  เป็นต้น
     - การจัดการด้านการเงิน ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถจัดการเรื่องการเงินส่วนตัว เช่น ฝาก-ถอน เงินกับธนาคาร  ซื้อขายหุ้นกับผู้ค้าหุ้น  เช่น  อีเทรด (www.etrade.com) เป็นต้น
     - ซื้อขายสินค้าและข้อมูล  ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถซื้อขายสินค้าและข้อมูลผ่านอินเตอร์เนตได้โดยสะดวก

     (2)อีคอมเมิร์ซภายในองค์กรหรือแบบอินทราออร์ก (Intra-Org E-commerce) คือ การใช้อีคอมเมิร์ซในการช่วยให้บริษัทหรือองค์ใดองค์กรหนึ่งสามารถปรับปรุงการทำงานภายในและให้บริการลูกค้าได้ดีขึ้น ดังตัวอย่างต่อไปนี้
     - การติดต่อสื่อสารภายในองค์กรจะสะดวกรวดเร็วจะได้ผลดีขึ้น โดยใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  วีดีโอคอนเฟอเรนซ์ และป้ายประกาศ เป็นต้น
     - การจัดพิมพ์เอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ หรืออีพับลิซซิง (Electronic Publishing) ช่วยให้บริษัทสามารถออกแบบเอกสาร จัดพิมพ์เอกสาร และแจกจ่ายเอกสารได้สะดวกรวดเร็ว และใช้ค่าใช้จ่ายน้อย ไม่ว่าจะเป็นคู่มือข้อกำหนดสินค้า (Product Specifications) รายงานการประชุม เป็นต้น ทั้งนี้โดยผ่านเว็บ
     - การปรับปรุงประสิทธิภาพพนักงานขาย การใช้อีคอมเมิร์ซแบบนี้ช่วยปรับปรุงการสื่อสารระหว่างฝ่ายผลิตกับฝ่ายขาย และระหว่างฝ่ายขายกับลูกค้า ทำให้ได้ประสิทธิภาพดีขึ้น

     (3)อีคอมเมิร์ซระหว่างองค์กรหรือแบบอินเตอร์ออร์ก (Inter-Org E-commerce)  ซึ่งก็คือแบบเดียวกับแบบที่เรียกว่าบีทูบี (Business to Business) ทั้งนี้โดยมีตัวอย่างต่อไปนี้
     - การจัดซื้อ ช่วยให้จัดซื้อได้ดีขึ้น ทั้งด้านราคา และระยะเวลาการส่งของ
     - การจัดการสินค้าคงคลัง
     - การจัดส่งสินค้า
     - การจัดการช่องทางขายสินค้า
     - การจัดการด้านการเงิน
อีคอมเมิร์ซ 6 ส่วน   ถ้าจะแบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 6 ส่วนก็แบ่งได้ดังต่อไปนี้
     (1)การขายปลีกทางอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเทลลิ่ง (E-tailing= Electronic Retailing) หรือร้านค้าเสมือนจริง (Virtual Storefront) ยอดขายปลีกอิเล็กทรอนิกส์ในอเมริกาใน ค.ศ. 1999 มีมูลค่าเป็นหมื่นล้านบาท
     (2)การวิจัยตลาดทางอิเล็กทรอนิกส์หรือมาร์เก็ตอีรีเซิร์ช (Market E-research) คือการใช้อินเตอร์เนตในการวิจัยตลาดแบบเดียวกับที่สำนักวิจัยเอแบค-เคเอสซีอินเตอร์เนตทำอยู่ จากการใช้อินเตอร์เนตนี้ บริษัทห้างร้านสามารถเก็บข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าปัจจุบัน และผู้ที่อาจจะเป็นลูกค้าในอนาคต ทั้งจากการลงทะเบียนเข้าใช้เว็บ จากแบบสอบถามและจากการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้า การวิจัยตลาด อินเตอร์เนตก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของอีคอมเมิร์ซ
     (3)อินเตอร์เนตอีดีไอ  หรือการส่งเอกสารตามมาตรฐานอีดีไอโดยใช้อินเตอร์เนต ซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายต่ำลงก็ถือว่าเป็นอีคอมเมิร์ซประเภทหนึ่ง
     (4)โทรสารและโทรศัพท์อินเตอร์เนต  การใช้โทรสารและโทรศัพท์ทางไกลผ่านอินเตอร์เนตหรือ วีโอไอพี (VoIP= Voice over IP) นั้นมีราคาต่ำกว่าการใช้โทรสารและโทรศัพท์ธรรมดา และอาจจะใช้เป็นส่วนหนึ่งของอีคอมเมิร์ซ
     (6) การซื้อขายระหว่างบริษัทกับบริษัท บริษัทต่างๆ จำนวนมากในปัจจุบันติดต่อซื้อขายสินค้ากันโดยผ่านเว็บในอินเตอร์เนต ซึ่งก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของอีคอมเมิร์ซ
     (7) ระบบความปลอดภัยในอีคอมเมิร์ซ ถือว่าเป็นส่วนสำคัญของอีคอมเมิร์ซ ทั้งนี้ในปัจจุบันมีการใช้วิธีต่างๆ เช่น เอสเอสแอล (SSL= Secure Socket Layer) เซ็ต (SET = Secure Electronic Transaction) อาร์เอสเอ  (RSA = Rivest, Shamir and Adleman) ดีอีเอส (DES= Data Encryptioon Standard) และดีอีเอสสามชั้น (Triple DES) เป็นต้น
อีคอมเมิร์ซ 2 ประเภทสินค้า ถ้าจะแบ่งอีคอมเมิร์ซตามประเภทสินค้าก็แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ
     (1)สินค้าดิจิตอล เช่น ซอฟท์แวร์ เพลง วิดีโอ หนังสือ ดิจิตอล เป็นต้น ซึ่งสามารถส่งสินค้าได้โดยผ่านอินเตอร์เนต
     (2)สินค้าที่ไม่ใช่ดิจิตอล เช่น  สินค้าหัตถกรรม สินค้าศิลปชีพ เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม เครื่องหนัง เครื่องประดับ เครื่องจักรอุปกรณ์ เป็นต้น ซึ่งต้องส่งสินค้าทางพัสดุภัณฑ์ ผ่านไปรษณีย์หรือบริษัทรับส่งพัสดุภัณฑ์
แนวคิดของอีคอมเมิร์ซ จะประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วนหลักๆ คือ
     (1) Customer Relationship Management (CRM) การบริหารความสัมพันธ์ของลูกค้าเพราะลูกค้าคือส่วนสำคัญที่สุดและเป็นส่วนที่เป็นพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจ บริษัทไม่สามารถที่จะพัฒนาได้ถ้าขาดความเชื่อมั่นจากลูกค้า เพราะฉะนั้นการปรับปรุงการโต้ตอบระหว่างลูกค้ากับกระบวนการต่างๆ ของธุรกิจ ที่เป็นกระบวนการย่อยซึ่งจะส่งผลต่อลูกค้าโดยรวม
     (2) Supply Chain Management (SCM) เป็นแนวคิดการผสานกลไกทางธุรกิจทั้งหมด ตั้งแต่การนำวัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการผลิต จนกระทั่งส่งสินค้าถึงมือลูกค้า ช่วยให้บริษัทสร้างระบบการไหลเวียนของข้อมูลข่าวสาร สินค้า และการบริการ ให้มีความต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ  นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยระบบงานภายในและภายนอกบริษัท
     (3) Enterprise Resource Planning (ERP) เป็นการวางแผนบริหารทรัพยากรภายในองค์กร โดยการมุ่งเน้นที่จะปรับปรุงระบบการดำเนินงานและการพัฒนาบุคลากรขององค์กร เพื่อให้องค์กรมีขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งเป็นการผสานกลยุทธ์ทางธุรกิจ เทคโนโลยี และบุคลากรเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงาน

วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การติดตั้งโปรแกรมเสริม extension บน joomla

การติดตั้งโปรแกรมเสริม extension บน joomla

ในการติดตั้งตัวเสริมต่างๆของ joomla เช่น component, module, plugin, theme เราสามารถติดตั้งได้โดยง่ายๆ ผ่านตัวติดตั้งตัวเดียวเลยสะดวกสบายมากครับ ให้เราเข้าไปที่หน้า Backend ของ joomla จากนั้นดูที่เมนูด้านบนเลือก Extension > Install/Uninstall
howhost_00411

จะมีให้เลือกการติดตั้ง 3 แบบ คือ 1.ติดตั้งด้วยไฟล์บีบอัดบนเครื่องเรา 2.การติดตั้งจาก directory โดยตรง 3. ติดตั้งจาก URL
howhost_00125
แต่ที่สะดวกที่สุดก็คือวิธีที่ 1 ครับติดตั้งด้วยไฟล์บีบอัดบนเครื่องเรา โดยส่วนใหญ่การติดตั้งโปรแกรมเสริมให้กับ joomla จะทำตามวิธีนี้ เนื่องจากโดยส่วนใหญ่เราจะต้องโหลดโปรแกรมเสริมมาเก็บไว้บนเครื่องของตนเองก่อน และโปรแกรมเสริมส่วนใหญ่ก็จะจัดเก็บไฟล์ด้วย .zip หรือ .tgz โดยให้เรากด Browse… จากนั้นเลือกโปรแกรมเสริมที่เราโหลดมาเพื่อจะติดตั้งลงไปบน joomla แล้วกด upload file and install
howhost_00221
เพียงแค่นี้ก็จบการติดตั้งแล้ว ส่วนโปรแกรมเสริมที่เราติดตั้งลงไปนั้นก็ถูกแยกออกตามหมวดหมู่ของมันเอง component, module, plugin, theme (template) โดยให้เราไปดูที่เมนู Extension แล้วเลือกดูว่าเลยครับว่า โปรแกรมเสริมที่เราติดตั้งไปเมื่อกี้เราติดตั้งอะไรลงไป เช่น ติดตั้ง module ลงไปก็ให้ไปดูที่ Extension > Module Manager เป็นต้น

วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Joomla คืออะไร

Joomla คืออะไร
joomla คืออะไร คำถามนี้มักจะอยู่ในใจของทุกคน ในขณะที่คุณได้ยินคำว่า "joomla" เป็นครั้งแรก เพราะชื่อที่ฟังแล้วแปลกหู เป็นชื่อที่ไม่คุ้นเคย แต่ถ้าหากเป็นคนที่อยู่ในวงการ Internet และ Website แล้วหละก็ ผมเชื่อแน่ว่า joomla คือ ชื่อที่ได้ยินแล้วรู้สึกโปรดปรานเป็นอย่างยิ่ง ก่อนที่เราจะไปทำความรู้จักกับ joomla กันผมขอเกริ่นนำเกี่ยวกับการสร้างเว็บไซต์ให้พอเข้าใจกันก่อน เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการทำความเข้าใจกับ joomla
การสร้างเว็บไซต์จากอดีตจนถึงปัจจุบัน มีวิวัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไปในทุก ๆ วัน เริ่มจากการใช้ภาษาในการเขียนเว็บไม่กี่ภาษา มาเป็นใช้ภาษาหลาย ๆ ภาษาร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นภาษา HTML, DHTML, PHP, ASP ฯลฯ นอกจากนี้หากต้องการให้เว็บไซต์ของเรามีความสวยงามก็จะต้องมีความรู้ทางด้านกราฟฟิกส์อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการตัดต่อ ย่อ ขยาย รูปภาพ สร้างภาพที่เป็น GIF Animation หรือจะให้ดูนุ่มนวลก็จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับการสร้าง Flash ด้วยความหลายกหลายที่จำเป็นจำต้องมีในเว็บไซต์นั้น การที่จะสร้างเว็บส่วนตัว หรือองค์กรให้สวยงามและมีประสิทธิภาพ ด้วยคนเพียงคนเดียวนั้นอาจต้องใช้เวลานานมาก ด้วยเหตุนี้ปัจจุบันจึงมีกลุ่มคนที่รวมตัวกัน และร่วมกันพัฒนา ต้องขอใช้คำว่า "เว็บไซต์กึ่งสำเร็จรูป" ขึ้นมา เพื่อเป็นการลดภาระการทำงานหลาย ๆ ด้าน ให้มีความง่าย และสะดวกมากยิ่งขึ้น โดยให้ความหมายกับสิ่งที่พวกเขาได้พัฒนาขึ้นว่าCMS
joomla เป็น CMS ตัวหนึ่งในหลาย ๆ ตัวที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน สำหรับคุณที่ยังไม่รู้จักว่า CMS คืออะไร ขออธิบายสั้น ๆ เพิ่มเติมดังนี้ครับ CMS นั้นเป็นอักษรย่อของ คำว่า "Content Management System" ซึ่งเมื่อแปลเป็นภาษาไทย หมายถึง ระบบบริหารจัดการเนื้อหาของเว็บไซต์  นั่นหมายความว่า สิ่งที่เราจะต้องดูแลก็คือเนื้อหาของเว็บไซต์ เช่น การเพิ่มบทความ การเพิ่มรูปภาพ หรือการปรับแต่งโยกย้ายโมดูลต่าง ๆ  ไม่จำเป็นจะต้องมานั่งเขียน Code ด้วยภาษา HTML, PHP, SQL เพียงแต่เรียนรู้วิธีการติดตั้ง การปรับแต่ง การใช้งาน CMS เท่านั้น  สำหรับ Code ต่าง ๆ ที่นำมาสร้าง และ ออกแบบเว็บไซต์ จะทำโดยทีมงานของผู้พัฒนา CMS ของแต่ละทีม ซึ่งทำให้ประหยัดเวลาในการสร้าง  และออกแบบเว็บไซต์ ได้อย่างมาก joomla เป็น CMS ที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับต้น ๆ  เพราะมีระบบการจัดการเนื้อหาที่มีรูปแบบสากล การปรับแต่งหน้าตาของเว็บไซต์ทำได้ง่าย เพราะ joomla ถูกออกแบบมาให้รองรับกับเทคโนโลยีการ ออกแบบเว็บไซต์ สมัยใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการรองรับ Flash หรือ GIF Animation นอกจากนี้คุณยังสามารถ          Download template ได้อย่างมากมายมีทั้งแบบที่สามารถนำมาใช้งานได้ฟรี (โดยให้เครดิตผู้สร้างนิดหน่อย เช่น ไม่ลบชื่อทีมพัฒนา template นั้นออกจาก template เป็นต้น) หรือหากต้องการ template ที่มีประสิทธิภาพ และมีความสวยงาม ก็สามารถหาซื้อมาใช้ได้ เพราะมีเว็บไซต์ที่ให้บริการจัดทำ template ของ joomla อยู่มากมาย จุดเด่นของ joomla อีกจุดหนึ่งก็คือมี Extension จำนวนมากให้เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้งาน เช่น component, module, Plugin มีทั้งแบบฟรี และแบบต้องชำระเงิน สำหรับเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของ joomla คือ http://www.joomla.org   เป็นศูนย์รวมข่าวสารการ Update joomla และคุณสามารถ download joomla และ extension ต่าง ๆ ได้จากที่นี่

                joomla มีการ Update อย่างสม่ำเสมอ ทำให้เรามั่นใจได้ว่าการ ออกแบบเว็บไซต์ ด้วย CMS joomla จะมีความปลอดภัย ซึ่งปัจจุบัน (ตุลาคม 2553) เป็นรุ่น 1.5.21 และที่สำคัญที่สุด joomla รองรับภาษาไทย 100% เพราะมีทีมงานที่คอยดูแลเรื่องภาษา ทำให้เราไม่ต้องมากังวลกับการใช้งานภาษาไทยว่าจะผิดเพี้ยนในส่วนใดหรือไม่ และในขณะนี้ Team ผู้พัฒนา joomla กำลังร่วมกันพัฒนา joomla รุ่นใหม่ คือ joomla1.6 ซึ่งในขณะนี้ก็ใกล้จะได้ใช้งานกันในเวลาอันใกล้นี้คือ Joomla 1.6.4 Released สำหรับในเวอร์ชั่น 1.5 ก็ยังคงพัฒนาเพิ่มเติมมาจนถึง 1.5.23 หากท่านใดใช้เวอร์ชั่นเก่าอยู่ก็แนะนำให้ upgrade ให้ทันสมัยอยู่เสมอนะครับ ทั้งนี้เพื่อประสิทธิภาพ และความปลอดภัยของเว็บไซต์ของท่านเอง
สิ่งที่ควรพิจารณาเป็นอันดับต้น ๆ สำหรับการใช้งาน joomla
สำหรับผู้เริ่มต้นใช้งาน joomla แล้วเกิดปัญหานั้นส่วนใหญ่ ไม่ได้มาจากตัวของ joomla แต่มักจะมีปัญหากับ PHP, MySql, เวอร์ชั่นเก่า ทำให้เกิดปัญหาได้ สำหรับการตรวจเช็คนั้นไม่ยากเลย เพราะในตอนที่ดำเนินการติดตั้งนั้น จะมีหน้าเว็บเพจที่ตรวจสอบว่าสามารถติดตั้ง หรือรองรับได้หรือไม่ หากไม่รองรับให้หาตัวใหม่มาลง  เพราะฉะนั้นตอนติดตั้งมักไม่ค่อยเกิดปัญหา แต่จะเกิดปัญหาตอนที่เราติดตั้งตัวเสริมต่าง ๆ (Extension) ซึ่งบางตัวถึงขั้นไม่สามารถใช้งานได้เลย เพราะติดตั้งไปก็จะ error หรือติดตั้งผ่าน แต่พอใช้งานจริงก็จะมีปัญหา สำหรับคุณที่ต้องการติดตั้งบนโฮสติ้ง ก่อนจะใช้บริการก็ควรเช็ครายละเอียดของโฮสติ้งให้ดีว่า PHP, MySql นั้นเวอร์ชั่นใหม่หรือไม่ จะได้เกิดปัญหาน้อยลง
Control Panel หัวใจของการจัดการเว็บไซต์ 

                ในส่วนนี้ขอกล่าวเลยไปถึงการจัดการเรื่องสิทธิ์บนโฮสติ้งด้วย เพราะโฮสแต่ละโฮส ก็ีมีนโยบายความปลอดภัยไม่เท่ากัน บางโฮสมีความเข้มงวดมากก็จะทำให้คุณต้องอ่านรายละเอียดการใช้งาน เพื่อทำความเข้าใจมากขึ้น สรุปว่าปลอดภัยแต่ใช้ยากขึ้น (นิดนึง) หากคุณเลือกใช้โฮสในลักษณะนี้มักเกิดปัญหา และต้องโทรหาเจ้าของโฮสอยู่บ่อย ๆ อย่างแน่นอน นอกจากนี้เครื่องมือที่ช่วยในการบริหารจัดการโฮสติ้งก็แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับ
Operating System ที่โฮสนั้น ๆ เลือกใช้

วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

การเชื่อมต่ออินเทอร์เนตสามารถเชื่อมต่อได้สองลักษณะด้วยกันได้แก่


ส่วนใหญ่การเชื่อมต่อแบบหมุนโมเด็ม (Remote Access) จะเป็นการเชื่อมต่อมาจากทางบ้าน และการเชื่อมต่อแบบ LAN จะเป็นการเชื่อมต่อภายในองค์กร โดยจะขอกล่าวถึงการเชื่อมต่อแบบหมุนโมเด็มก่อน ดังนี้

การเชื่อมต่อโดยหมุนโมเด็ม (Remote Access)

การเชื่อมต่ออินเทอร์แบบนี้สิ่งที่จำเป็นจะต้องมีได้แก่
1.การขออนุญาตและเสียค่าบริการให้ผู้บริการอินเทอร์เน็ต Internet Service Provider (ISP)
หรือที่สถาบันที่ท่านศึกษา หรือหน่วยงานที่ท่านทำงานอยู่
โดยสิ่งที่ได้คือ ชื่อผู้ใช้ (Internet Account ) และรหัสผ่าน (Password)


2.สายโทรศัพท์
3.โมเด็ม อาจจะเป็น Internal Modem หรือ External Modemเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสื่อสารข้อมูล (Communication Program)

ขั้นตอน

1. เข้ามาที่ เริ่ม Start => Setting => Dial-Up Networking ตามลำดับ ดังภาพ



2.จะได้กรอบ Dial-Up Networking ให้ดับเบิลคลิกที่ Make New Connect ดังภาพ



3.ที่กรอบ Make New Connect นี้ ในช่อง Type a name for the computer you are dialing ให้ตั้งชื่อหน่วยงานหรือ ISP ที่ต้องการต่อเชื่อมอินเทอร์เนต แล้วคลิกปุ่ม Next



4.จากนั้นกำหนดหมายโทรศัพท์ที่หน่วยงานกำหนดให้สามารถต่อเชื่อมอินเทอร์เนตได้
ในช่อง Area code กำหนดรหัสทางไกล และช่อง Telephone กำหนดหมายเลขโทรศัพท์
แล้วกดปุ่ม Next




5.มาถึงตอนนี้ก็เป็นอันเสร็จขั้นตอนการกำหนดให้เครื่องคอมพิวเตอร์หมุนโมเด็ม ให้คลิกปุ่ม Finish



6.ท่านก็จะได้ Icon เพื่อการหมุนโมเด็มเพื่อติดต่ออินเทอร์เนต ดังภาพ



7. มาถึงตอนนี้ก็จะเป็นหมุนโมเด็มเพื่อเชื่อมต่ออินเทอร์เนต โดยการดับเบิลคลิกที่ Icon NU University ดังกล่าว
ในช่อง User name ให้ท่านใส่ User name ที่ได้รับจากหน่วยงานหรือ ISP
ในช่อง Password ให้ใส่ Password ที่ได้รับเช่นกัน
เรียบร้อยให้คลิกปุ่ม Connect




8.จากนั้นคอมพิวเตอร์ก็จะทำการหมุนโมเด็มเพื่อเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เนต
หากสามารถเชื่อมต่อได้ ท่านก็สามารถใช้บริการอินเทอร์เนตได้




9. เป็นไปได้ในบางครั้งคู่สายอาจจะไม่ว่าง เนื่องจากมีผู้ใช้อินเทอร์เนตมาก
เราก็จำเป็นต้องหมุนใหม่ โดยการคลิกที่ปุ่ม Connect อีกครั้ง




เท่านี้ก็เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการเชื่อมต่ออินเทอร์เนตโดยหมุนโมเด็ม (Remote Access)
หากท่านไม่สามารถใช้บริการได้ก็ขอให้ติดต่อกับผู้ให้บริการ System Admin ได้โดยตรง
ต่อไปจะได้กล่าวถึงการเชื่อมต่ออินเทอร์เนตในระบบ LAN

การเชื่อมต่อแบบระบบ LAN

วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกัยอินเตอร์เน็ต

 
ประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ตในยุคแห่งสังคมข่าวสารเช่นปัจจุบัน การสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ยิ่งทวีความสำคัญมาก ขึ้นเป็นลำดับเครือข่าคอมพิวตอร์ให้แลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกันได้โดยง่าย ในปัจจุบันมี เครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงไปทั่วโลก ผู้ใช้ในซีกโลกหนึ่งสามารถติดต่อกับผู้ใช้ในซีกโลกหนึ่ง ได้อย่างรวดเร็วเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รู้จักกันในชื่อของ"อินเทอร์เน็ต"(Internet) จัดว่าเป็น เครือข่ายที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในยุคของสังคมข่าวสารปัจจุบัน อินเทอร์เน็ตมีขอบข่ายครอบ คลุมพื้นที่แทบทุกมุมโลกสมาชิกในอินเทอร์เน็ตสามารถใช้คอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ที่จุดใด ๆ เพื่อส่งข่าวสารและข้อมูลระหว่างกันได้บริการข้อมูลในอินเทอร์เน็ตมีหลากรูปแบบและมีผู้นิยมใช้ ้เพิ่มมากขึ้นทุกวัน จากการคาดการณ์โดยประมาณแล้วปัจจุบันมีเครือข่ายทั่วโลกที่เชื่อมเข้าเป็น อินเทอร์เน็ตราว 45,000 เครือข่าย จำนวนคอมพิวเตอร์ในทุกเครือข่ายรวมกันคาดว่ามีประมาณ 4 ล้านเครื่อง หรือหากประมาณจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกคาดว่ามีประมาณ 25 ล้านคน และ มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น เราจึงกล่าวได้ว่า อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายมหึมาที่ครอบคลุมพื้นที่กว้างขวาง ที่สุด มีการขยายตัวสูงที่สุด และมีสมาชิกมากที่สุดเมื่อเทียบกับเครือข่ายอื่นที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน พัฒนาการของอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตมิได้เป็นเครือข่ายที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะเจาะจงหากแต่มี ประวัติความเป็นมาและมีการ พัฒนามาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่การเกิดของเครือข่ายอาร์พาเน็ต ในปี พ.ศ.2512ก่อนที่จะก่อตัวเป็น อินเทอร์เน็ตจนกระทั่งถึงทุกวันนี้อินเทอร์เน็ตมีพัฒนาการมา จากอาร์พาเน็ต ( ARPAnet ) ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้ การรับผิดชอบของ อาร์พา ( Advanced Research Projects Agency ) ในสังกัดกระทรวงกลาโห ของสหรัฐอเมริกาอาร์พาเน็ต ในขั้นต้นเป็นเพียงเครือข่ายทดลองที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นการสนับสนุนงานวิจัยด้านการทหารและ โดยเนื้อแท้แล้วอาร์พาเน็ตเป็นผลพวงมาจากการเมืองโลกในยุคสงครามเย็นระหว่างค่าย คอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย ยุคสงครามเย็น ในทศวรรษของปีพ.ศ.2510 นับเป็นเวลาแห่งความตึงเครียดเนื่องจากภาวะ สงครามเย็นระหว่างประเทศในค่ายคอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศผู้นำ กลุ่มเสรีประชาธิปไตยได้ก่อตั้งห้องปฏิบัติการทดลองเพื่อค้นคว้าและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีด้านระบบคอมพิวเตอร์ช่วงท้ายของทศวรรษ 2510 ห้องปฏิบัติการวิจัย ในสหรัฐ ฯ และในมหาวิทยาลัยใหญ่ ๆล้วนแล้วแต่มีคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยในยุคนั้นติดตั้งอยู่

คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะแยกกันทำงานโดยอิสระมีเพียงบางระบบที่ตั้งอยู่ใกล้กันเท่านั้นที่สื่อสารกันทางอิเล็กทรอนิกส์แต่ก็ด้วยความเร็วต่ำ ห้องปฏิบัติการหลายแห่งได้พัฒนาระบบสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้น หากแต่ยังไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบได้กับเทคโนโลยีการสื่อสารที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน ปัญหาและ อุปสรรคสำคัญ คือคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายจะต้องอยู่ในสภาพทำงานทุกเครื่องหากเครื่องใดเครื่องหนึ่งหยุดทำงานลง การสื่อสารจะไม่สามารถดำเนินต่อไปได้จนกว่าจะตัดเครื่องออกไปจาก เครือข่ายข้อจำกัดนี้ทำให้ระบบเครือข่ายไม่อยู่ในสภาพที่เชื่อถือได้และลำบากต่อการควบคุมดูแล โครงการอาร์พาเน็ต อาร์พาเป็นหน่วยงานย่อยของกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ ฯ ทำหน้าที่สนับสนุนงานวิจัยพื้นฐานทั้งด้านเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ อาร์พาไม่ได้ทำหน้าที่วิจัยโดยตรงอีกทั้งยังไม่มีห้องทดลอง เป็นของตนเอง หากแต่กำหนดหัวข้องานวิจัยและให้ทุนแก่หน่วยงานอื่น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมหาวิทยาลัย และบริษัทเอกชนที่ทำงานวิจัยและพัฒนา อาร์พาได้จัดสรรทุนวิจัยเพื่อทดลองสร้างเครือข่ายให้คอมพิวเตอร์สามารถแลก เปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ในชื่อโครงการ"อาร์พาเน็ต" ( ARPAnet ) โดยเริ่มต้นงานวิจัยในเดือนมกราคม พ.ศ. 2512 รูปแบบเครือข่ายอาร์พาเน็ตไม่ได้ต่อเชื่อมโฮสต์ ( Host ) คอมพิวเตอร์เข้าถึงกันโดย ตรง หากแต่ใช้คอมพิวเตอร์ เรียกว่าIMP ( Interface Message Processors ) ต่อเชื่อมถึงกันทางสาย โทรศัพท์เพื่อทำหน้าที่ด้านสื่อสารโดยเฉพาะ ซึ่งแต่ละIMP สามารถเชื่อมได้หลายโฮสต์



ประวัติความเป็นมาของอินเทอเน็ตในประเทศไทย
อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
การเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตของประเทศไทยมีจุดกำเนิดมาจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัย หรือที่เรียกว่า "แคมปัสเน็ตเวอร์ก" ( Campus Network ) เครือข่ายดัง กล่าวได้รับการสนับสนุนจาก "ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ" ( NECTEC ) จนกระทั่งได้ เชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตโดยสมบูรณ์ในเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ.2535 พัฒนาการ ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยใช้ E-mail ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 โดยเริ่มที่ "มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่" เป็นแห่งแรก และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ภายใต้ความร่วมมือระหว่างไทยและออสเตรเลียในช่วงเวลาต่อมา ในขณะนั้นยังไม่ได้มีการเชื่อมต่อ แบบ On-line หากแต่เป็นการแลกเปลี่ยนข่าวสาร ด้วย E-mail โดยใช้ระบบ MSHnet ละ UUCP โดยทางออสเตรเลียจะโทรศัพท์เชื่อมเข้ามาสู่ระบบวันละ 2 ครั้ง ในปีถัดมา NECTEC ซึ่งอยู่ภายใต้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน ( ชื่อเดิมในขณะนั้น ) ได้จัดสรรทุนดำเนินโครงการ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ของสถาบันอุดมศึกษา โดยแบ่ง โครงการออกเป็น 2 ระยะ การดำเนินงานใน ระยะแรกเป็นการเชื่อมโยง 4 หน่วยงาน ได้แก่ - กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ระยะที่สองเป็นการเชื่อมต่อสถาบันอุดมศึกษาที่เหลือ คือ
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- มหาวิทยาลัยมหิดล
- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตธนบุรี
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยา เขตพระนครเหนือ
- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เทคนิคการใช้อินเทอร์เน็ต

ปุ่มใดแทนคำสั่ง Back ได้
               ปุ่ม Backspace ใน Keyboard สามารถใช้แทนคำสั่ง Back เวลาใช้งานอินเทอร์เน็ตได้

แนะนำตัว

น.ส. จันจิรา    ปั๋งมี  (โม)
อายุ 19 เกิดวันที่ 1 สิงหาคม 2534
ที่อยู่ 63 ม.10 ต.เขาชะงุ้ม ด.โพธาราม จ.ราชบุรี
E-mail namo_taro@hotmail.com